ประวัติความเป็นมาสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์


       
        

     
    





    สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์   ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2433 (รศ.109) โดยกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งกรมกองตระเวนขึ้น    ขณะนั้นเรียกว่า  “โรงพักสำราญราษฎร์”   เป็นโรงพักที่ 6   สังกัดกองที่ 3  หมวด 1 กองตระเวนรักษาพระนคร  ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม  มีนายหมวด 1 คน  มีนายยาม 3 คน โดยมี หลวงอารีราษฎร์   เป็นสารวัตรใหญ่คนแรก ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งโรงพักไปตั้งในที่ดินของหม่อมเจ้าสมมุติอมรมาตย์   ติดคลองโอ่งอ่าง   เนื้อที่ทั้งหมด 2 งาน  16  ตารางวา  อาคารที่ทำการของสถานีเป็นเรือนไม้  ปลูกขึ้นชั้นเดียว ตอนกลาง  ทำการยกขึ้นเป็น  2 ชั้น  ชั้นล่างเป็นที่ทำการ ชั้นบนเป็นที่พักของสารวัตร บริเวณต่อเนื่องด้านหลังสถานี เป็นเรือนไม้สำหรับเป็นที่พักของข้าราชการตำรวจ  ตั้งอยู่ประมาณ 60 ปี  ปัจจุบันสถานีตำรวจ แห่งนี้รื้อทิ้งแล้วสร้างเป็นแฟลต 5 ชั้น  ใช้เป็นที่พักของข้าราชการตำรวจ เมื่อปี พ.ศ.2496 ทางราชการได้เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  เนื้อที่ 3 ไร่  3 งาน 70 ตารางวา ปลูกสร้างอาคารสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ณ เลขที่ 200 ถนนบำรุงเมือง แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ซึ่งใช้เป็นที่ทำการจนถึงเดือน พฤศจิกายน 2552 ปัจจุบันได้อาคารที่ทำการหลังใหม่เป็นตึก 3 ชั้น พื้นด้านล่างยกสูงเป็นที่จอดรถ และเริ่มใช้เป็นที่ทำการสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 เป็นต้นมา ถนนบำรุงเมือง ปี ค.ศ.1905 ภาพถนนนี้ที่เก่าสุดให้สังเกตุเสาชิงช้า ที่ยังไม่ได้ย้ายที่ตั้ง มาย้ายที่ตั้งอีกครั้งในปัจจุบันสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการบูรณะใหม่ ตึกแถวถนนบำรุงเมืองส่วนใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ครับ ถือเป็นตึกเก่าที่สุดในกรุงเทพบางท่านสงสัยว่าทำไมถนนสายนี้ไม่มีฟุตบาท หรือทา่งเท้่า แต่จริงๆมีครับ แต่มันอยู่ในตึกทางเดินเท้าจะอยู่ในตัวตึกเดินทะลุถึงกันหมด มาภายหลังต่างคนต่างซ่อมแล้วก็ปิดทางเดินกันไปจนตอนนี้ไม่สามารถเดินทะลุกันได้ ภูเขาทอง วัดสระเกศ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยจำลองแบบมาจากพระเจดีย์ของวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแต่เนื่องจากพื้นดินในบริเวณนั้นลุ่ม ดินจึงอ่อน รับน้ำหนักพระเจดีย์ไม่ไหว จึงทรุดลงจำต้องหยุดสร้าง ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ทรงโปรดเกล้าให้ทำการสร้างต่อ แต่ก็มีการซ่อมตลอดรัชกาลจนมาสำเร็จลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เวลาการสร้างถึง ๓ รัชกาลด้วยกันเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปี

0 Comments